การจัดองค์ประกอบภาพ ก็คือ การที่เรานำองค์ประกอบศิลป์มาประสมประสาน เพื่อให้ภาพออกมาสวยงาม มีแบบแผน มาลองดูกันครับ

รูปร่าง (Shape)

ข้อ 1 รูปร่างลักษณะ (Shape)

        ให้ถ่ายภาพแบบ2มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่ต้องให้เห็นรายละเอียดภาพ หรือที่เรียกว่า ภาพเงาดำ ทำให้ภาพดูแปลกตา น่าสนใจ ลึกลับ ให้อารมณ์และสร้างจินตนาการในภาพ

ให้ถ่ายภาพกับ  วัตถุที่ถ่ายต้องมีความเรียบง่าย เด่นชัด สื่อความหมาย ได้ชัดเจน ฉากหลัง ต้องไม่มารบกวนทำให้ภาพนั้นมองรูปร่างไม่ออกว่าจะถ่ายอะไร

รูปทรง (Form)

ข้อ 2รูปทรง (Form)

           รูปทรงจะให้ความรู้สึก สง่างาม มั่นคงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพ ทางสถาปัตยกรรม วัตถุ  เน้นให้เห็นความกว้าง ความสูง ความลึก โดยให้เห็นทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และความลึกให้เป็น 3มิต  หรือที่เรียกว่า Perspective

ความสมดุลที่เท่ากัน

ข้อ 3 ความสมดุลที่เท่ากัน

           เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา เหมือนแบบรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุล นิ่ง ปลอดภัย  นิยมถ่ายพระพุทธรูปในลักษณะนี่ ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว

ความสมดุลไม่เท่ากัน

ข้อที่ 4 ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน

         ให้ความรู้สึกที่สมดุลแต่ วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่จะสมดุลได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี  รูปทรง ท่าทาง  ฉากหน้า  ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนใจ กว่าแบบ สมดุลที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะ น้อยกว่า แต่จะดูแปลกตาดี

ฉากหน้า (Foreground)

ข้อที่ 5 ฉากหน้า (Foreground)

         จะใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้  ไกล ภาพมีมิติ ทำให้ภาพน่าสนใจ อาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับสิ่งที่เราถ่าย เพื่อช่วยเน้นให้จุดสนใจที่ต้องการเน้น มีความเด่นยิ่งขึ้น และไม่ให้ภาพมีช่องว่างเกินไป และดึงความสนใจ

ฉากหลัง (Background)

ข้อที่ 6ฉากหลัง (Background)

         พื้นหลังของภาพก็มีความสำคัญ หากเลือกที่น่าสนใจ กลมกลืน หรือช่วยให้สิ่งที่ต้องการเด่นขึ้นมา ควรเลือกฉากหลังที่กลมกลืน ไม่ทำให้จุดเด่นของภาพด้อยลง หรือมารบกวนทำให้ภาพนั้นขาดความงามไป

กฎสามส่วน (Rule of third)

ข้อที่ 7 กฎสามส่วน (Rule of third)

         โดยจะแบ่งภาพออกเป็น3ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน แล้วเวลาถ่ายให้แบ่งความสำคัญจุดไหนสำคัญกว่าก็ให้2ส่วน  เช่นเราถ่ายวิว ถ้าท้องฟ้าสวยก็ให้ท้องฟ้ามากกว่า แต่ถ้าวันไหนพื้นดินดีกว่าก็ให้2ส่วนเป็นต้น

จุดตัด9ช่อง

ข้อที่8 จุดตัด9ช่อง

         เป็นการจัดภาพที่นิยมมากที่สุด ทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จืดชืด การจัดภาพโดยใช้กฎนี้ทำให้ภาพดูโดดเด่น ไม่อึดอัด ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป โดยเราจะนำวัตถุที่เรานำเสนอไปวางไว้ที่จุดตัดทั้ง 4 จุดนั้นเอง

ข้อที่ 9 เส้นนำสายตา

         เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่งต่างๆ  ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปสู่จุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้น มีความ เด่นชัด เหมือนเป็นเส้นดึงความสนใจในภาพให้ชมสิ่งที่เราต้องการ 

เน้นด้วยกรอบภาพ

ข้อที่ 10 เน้นด้วยกรอบภาพ

        การเพิ่มกรอบภาพให้เป็นฉากหน้าของภาพ จะช่วยสร้างความเด่น สะดุดตา ทำให้ภาพภายในกรอบน่าสนใจขึ้น เช่น ช่องประตู หน้าต่าง รั้ว กิ่งไม้ ฯลฯ และควรให้กรอบภาพเหล่านี้มีน้ำหนักหรือโทนภาพ ความเข้มของภาพ ให้มากกว่าภาพเรื่องราวที่อยู่ภายใน

รูปแบบซ้ำซ้อน (Repetition)

ข้อที่ 11 รูปแบบซ้ำซ้อน (Repetition)

         เป็นการจัดภาพที่มีรูปร่าง ลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันวางเป็นกลุ่มทำให้ภาพดูสนุก สดชื่น และมีเสน่ห์แปลกตา หรือเพื่อการสื่อสารกับคนชมภาพ หรือการทิ้งพื้นที่ว่างให้กับภาพ การนำเสนอเราต้องเข้าใจว่า จะนำเสนอภาพของเราแบบไหนให้ออกมาดีที่สุด

ข้อที่12 แบ่งพื้นที่

       เป็นการแบ่งภาพออกเป็น2ส่วนที่สื่อความหมายกันหรือแตกต่างกัน ในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน เพื่อบอกเรื่องราวของแต่ละส่วนได้เป็นเอกเทส ถ้าเราปิดส่วนไหน ภาพแต่ละภาพก็มีเรื่องราวในส่วนนั้น

ภาพ/บทความ : ช้างอิมเมท 64