1.ระบบสี RGB

ระบบสี RGB เป็นระบบสีของแสง  เกิดจากการหักเหของแสงกลายเป็นสีรุ้ง ด้วยกัน 7 สี ซึ่งเป็นช่วงแสงที่ตาของคนเราสามารถมองเห็นได้

** แสงสีม่วงจะมีความถี่สูงสุดเรียกว่า อุนตร้าไวโอแรต **

**แสงสีแดงจะมีความถี่ต่ำสุด เรียกว่าอินฟาเรต**  

แม่สีของแสงมีด้วยกัน 3 สี นั้นก็คือ สีแดง(R)  ,สีเขียว(G),สีน้ำเงิน(B) และแต่ละแม่สีเมื่อรวมกันก็จะได้สีดังนี้

                                สีแดง+สีเขียว                    ได้                           สีเหลืองYellow

                        สีเขียว+น้ำเงิน             ได้                           สีฟ้าCyan

                                สีแดง+สีน้ำเงิน                   ได้                           สีแดงอมชมพู่Magenta

               ** ถ้ารวมสีของแสงทั้งหมดก็จะได้        “ สีขาว

วงจรสี
ภาพวงจรสีของแสงแบบแม่สีและแม่สีรอง

การมองเห็นของคนเรานั้นเกิดจากคลื่นแสงทีเกิดขึ้นในแหล่งแสงต่างๆวิ่งไปกระทบผิว และพื้นผิวอาจจะดูดรับบางคลื่นแล้วสะท้อนกลับมา กลายเป็นสีที่ตาเรามองเห็น

                ระบบสี RGB ในการแสดงผลออกมา เป็นรูปแบบการรับแสะแสดงผลด้วยแสงทีเป็นแม่สีได้แก่ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น จอภาพ,สแกนเนอร์,กล้องดิจิดอลหรือดวงตาคนเราล้วนแต่รับและแปลผลเป็นสีต่างๆด้วยแสงเหล่านี้

เมื่อนำแม่สีของแสงทั้ง3มาผสมกันปริมาณแสงสว่างเท่ากันก็จะได้เป็นแสงที่สีขาว แต่ถ้าผสมกันระหว่างแสงระดับความสว่างต่างกัน ก็จะได้ผลทีเป็นแสงสีๆมากมายเป็นล้านสีที่เดียว

                ในระบบสี RGB ไม่ได้หมายถึงสีใดสีหนึ่ง  แต่เป็นการรวมกันของแม่สีทั้ง3 ซึ่ง อธิบายถึงหลักของสี RGB โดยเป็นพื้นฐานของการนำเอาสี RGB ไปใช้ในระบบของสี sRGB หรือ Adobe RGB

2. ฟิลเตอร์กับการถ่ายภาพ

ฟิลเตอร์คือแผ่นกรองแสง นำมาใช้ในการถ่ายภาพ ใช้สำหรับปรับสีให้ถูกต้องหรือผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง หรือนำมาใช้ปรับโทนในการถ่ายภาพขาวดำ มีด้วยกันหลายสีหลายลักษณะแล้วแต่จะนำไปใช้งาน

ในภาพที่เป็นขาวดำจะมีการไล่ระดับของโทนต่างๆว่าสีไหนอยู่โทนไหน โดยจะมีการไล่ระดับจากดำไปถึงเทาและขาว ก็จะได้ภาพขาวดำที่เรามองเห็น เมื่อเราถ่ายภาพขาวดำหรือถ่ายภาพสีแล้วแปลงเป็นภาพขาวดำก็จะได้ภาพตามโทนต่างๆความเข็ม ความสว่างในภาพของเรา

แต่บางครั้งโทนในภาพขาวดำอาจจะใกล้เคียงกัน แม้ในภาพสีอาจจะดูสวย สมมุติเราถ่ายสีเขียวใบไม้กับสีแดงของเสื้อแบบที่เราถ่ายเมื่อเป็นภาพขาวดำ อาจจะทำให้ภาพกลมกลืนกันได้  เราก็จะมีการปรับโทน เพิ่มคอนทราสหรือความเปรียบต่างในภาพด้วยการใส่ฟิลเตอร์  จากพื้นฐานการดูดซับคลื่นหรือการใช้ปิดกลั้นคลื่นจากที่เราเรียกรู้กันมา

                ช่างภาพจะใช้ฟิลเตอร์ปรับสีในภาพโดยใช้หลักการคัดแยกแสงให้เหลือเฉพาะที่ต้องการ เมื่อใส่ฟิลเตอร์สีถ่ายภาพทำให้แสงจะมีเฉพาะคลื่นความยาวที่ต้องการ  โดยคลื่นแสงอื่นจะถูกตัดไป เช่น เมื่อเราใช้ฟิลเตอร์สีแดง แสงที่ตกลงในภาพจะมีช่องความยาวสีแดง เท่านั้น

ตัวอย่างภาพใส่ฟิลเตอร์สีแดงทำให้ภาพฟ้าเข็มขึ้นและเพิ่มคอนทราสภายในภาพ

3.หลักง่ายๆในการใส่ฟิวเตอร์

เมื่อใส่ฟิลเตอร์สีนั้น  เมื่อคลื่นแสงผ่านมากก็จะทำให้แสงมีความเข็มมาก ภาพที่ได้ของวัตถุนั้นก็จะ จางลงหรืออ่อนลง

                และกลับกันเมื่อใส่ฟิลเตอร์กลั้นแสงให้แสงผ่านน้อย แสงก็จะมีสีบางลงภาพที่ได้ของวัตถุนั้นก็จะเข็มขึ้น

                เราจะใช้ฟิลเตอร์อะไรดี,สีไหนดี เราจะต้องเรียนรู้ ความสัมพันธ์ของระบบสีแบบRGBก่อน โดย RGB จะมีความสัมพันธ์สีตรงกันข้ามกัน เช่นสีเหลืองตรงข้ามกับสีน้ำเงิน,สีแดงตรงข้ามกับสีฟ้า,สีแดงอมชมพู่ตรงข้ามกับสีเขียว

ตัวอย่างแบบเข้าใจง่ายเมื่อใส่ฟิลเตอร์แต่ละสี

ภาพเมื่อเป็นขาวดำโทนจะได้ดังนี้

เราใช้ฟิวเตอร์สีแดง  >     สีแดงในภาพก็จะจางลง       >       สีฟ้า,เขียว,น้ำเงินตรงข้ามก็จะเข็มขึ้น

เราใช้ฟิลเตอร์สีเขียว >    สีเขียวในภาพก็จะจางลง       >      สีแดงอมชมพู่,แดง,น้ำเงินสีตรงข้ามก็จะเข็มขึ้น

เราใช้ฟิลเตอร์สีน้ำเงิน > สีน้ำเงินในภาพก็จะจางลง       >  สีเหลือง,เขียว,แดงตรงข้ามก็จะเข็มขึ้น

– สิ่งเรานี้เราก็จะสามารถนำมาปรับโทนในภาพขาวดำของเราให้ตรงใจเราได้ เช่นเวลาเราถ่ายวิวทิวทัศน์ ท้องฟ้าจะเป็นสีฟ้าโทนกลางๆ ส่วนด้านล่างก็จะเป็นต้นไม้พื้นดิน เราก็อาจจะใช้ฟิลเตอร์สีแดง ทำให้ฟ้าเข็มขึ้น ภาพคอนทราสขึ้น ภาพก็จะดูน่าสนใจขึ้นมา เป็นต้น

4.ตัวอย่างภาพโทนที่ได้เมื่อใส่ฟิลเตอร์ต่างๆ

5.การใช้ฟิลเตอร์ปรับโทนในกล้องดิจิตอล

ในการถ่ายภาพขาวดำด้วยกล้องดิจิดอลเราก็สามารถนำหลักพื้นฐานเดียวกันในการใส่ฟิลเตอร์สีมาใช้ในภาพขาวดำเราได้  โดยเราอาจจะถ่ายภาพเป็นโหมดขาวดำแล้วใส่ฟิลเตอร์ หรือถ่ายเป็นโหมดสีปรกติแล้วมาแปลงเป็นขาวดำ แล้วใช้โปรแกรมเพื่อเลียนแบบเหมือนใส่ฟิลเตอร์ในโปรแกรมตกแต่งภาพ  

              เมื่อเราเข้าใจความสัมพันธ์ของสีเราก็จะสามารถสร้างสรรค์ภาพขาวดำให้โทนตรงใจเราได้ง่ายและเราสามารถเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงได้เลย ซึ่งสะดวกและเรียกรู้การใช้งานได้ง่ายขึ้น แม้การใช้ ฟิลเตอร์อาจจะให้ผลที่ดูดีกว่าในภาพบางลักษณะ และสิ่งสำคัญเราต้องเข้าใจก่อนว่าโทนแบบไหนจะเป็นภาพออกมาเมื่อเป็นขาวดำ และวัดแสงให้แม่นเพราะแต่ละช่วงสีก็มีโทนระดับแตกต่างกันอีก

                หรือเราสามารถใช้โปรแกรมตกแต่งภาพปรับโทนแทนการใส่ฟิลเตอร์สีก็ได้ ซึ่งสะดวกและง่ายในการมองเห็น ซึ่งมีหลายแบบ โดยเฉพาะPSที่ปรับได้ละเอียด แต่ที่แนะนำคือการใช้คำสั่งChannel Mixer เนื่องจากง่ายในการปรับแต่ง และไม่ยุ่งยากในการทำความเข้าใจสำหรับคนต้องการเรียกรู้

5.การใช้Channel MixerในPSเพื่อปรับแต่งโทนเลียนแบบเหมือนใส่ฟิลเตอร์

                เราต้องเข้าใจก่อนว่าในการแปลงภาพสีให้เป็นขาวดำด้วยโปรแกรมPS ส่วนมากแล้วจะกำหนดค่าสว่างของช่องสีทั้ง3คือ สีแดง สีเขียว สีนำเงิน โดยใช้ สีแดง 30% สีเขียว60% สีน้ำเงิน10% ซึ่งก็จะได้ภาพขาวดำตามตรงการซึ่งอาจจะไม่ตรงใจเรา นัก

                การใช้คำสั่ง Channel Mixer ก็เหมือนกับการใช้ฟิลเตอร์สีในการถ่ายภาพ พื้นฐานเดียวกัน  จำไว้ว่าสีใน RGB มีความสัมพันธ์ตรงข้ามกัน ทำให้เกิดโทนอ่อน-เข็มในภาพ

                การใช้Channel Mixer มีหลักง่ายๆอยู่ว่า การกำหนดค่าแต่ละchannel ทั้งRGB เมื่อจะบวกหรือลบ จะต้องรวมกันเป็น100% พอดี ถ้ามากอาจจะทำให้แสงในchannel โอเวอร์ได้

ภาพหน้าต่าง Channel MixerในPS

วิธีการใช้โหมด Channel Mixer

1. ขั้นแรกเลือกภาพสีที่ต้องการ  ไปที่เมนูคำสั่ง Image > Adjustments > Channel Mixer แล้วคลิก 1ครั้ง จะมีหน้าต่าง Channel Mixer ออกมา

2.คลิกถูกในช่องMonochrome

3.ในส่วนของ Output Chanel จะเป็นGray

4.ส่วนred,Green,Blue ก็ปรับใส่Chanel แต่ละส่วนว่าจะใส่กี่% ด้วยการเลื่อนสไลด์ตามต้องการหรือใส่ค่าตัวเลขไปเลยก็ได้

5. เมื่อได้ปรับตรงใจก็กดOKก็จะได้ภาพขาวดำที่เราต้องการที่ปรับโทนเหมือนใส่ฟิลเตอร์แล้ว

ตัวอย่างการปรับค่า โหมด Channel Mixer แบบต่างๆ


ภาพเมื่อปรับเป็นขาวดำแบบ Desaturate

ภาพเมื่อเราใส่ค่าแสงแต่ละสีRGB แบบ100 %

-จากภาพด้านบนเมื่อเราใส่ค่า%แต่ละช่วงสีเป็น 100%เหมือนใส่ฟิลเตอร์ปรับโทน จะได้ผลที่แตกต่างกัน สีเดียวกับค่าที่ใส่จะจางลงแต่สีตรงข้ามจะเข็มขึ้น เช่น

“ใส่สีแดง100%ก็ทำให้สีตรงข้ามคือสีน้ำเงินหรือฟ้าเข็มขึ้น ส่วนผสมสีเหลืองก็จะจางลงหรืออ่อนลง(เพราะสีแดง+เขียว)  และเช่นกันเมื่อใส่สีน้ำเงิน 100% ก็ทำให้สีตรงข้ามเข็มขึ้นคือสีเหลือง ส่วนสีน้ำเงินก็จะจางหรืออ่อนลง

6.หมายเหตุ

6.1วิธีที่เราจะเข้าตรงนี้ได้ในการกำหนด%แต่ละส่วน เราต้องดูองค์ประกอบของภาพที่เราถ่ายมาว่าแบบไหน เช่นถ้าถ่ายภาพคนก็ควรเน้นแดงและเขียวให้มากๆ หรือถ้าถ่ายพวกใบหญ้าสีเขียวก็เน้น%สีเขียวให้มากขึ้น และเข้าใจหลักสีตรงข้ามเท่านี้เราก็จะสามารถปรับโทนขาวดำได้ตามตรงการ ลองเอาไปปรับแต่งดูครับ

6.2 สมัยนี่เราสามารถที่จะปรับเปลี่ยนโทนได้ง่ายขึ้น ในโปรแกรมแต่งภาพเช่น PS หรือ LR ซึ่งจะมีโหลดภาพขาวดำขึ้นมา ถ้าเราเข้าใจจากบทความข้างบนเราก็จะสามารถที่จะปรับแต่งได้ง่ายขึ้น เพราะเราจะเห็นภาพเลย ลองไปศึกษาเพิ่มเติมกันได้น่ะครับ

ภาพ-บทความ : ช้างอิมเมท