1.White Balance

การใช้ White balance

White Balance คือ แสงสมดุลสีขาวเพื่อไว้ใช้ในการปรับสภาพแสงเวลาถ่ายภาพออกมาให้มีสีสันตรงกับสีที่เราถ่าย

    White Balance หรือ แสงสมดุลสีขาว เมื่อเราถ่ายภาพ จะพบเจอกับสภาพแสงที่แตกต่างกันเช่น แสงจากหลอดไฟ แสงจากแฟลซ แสงจากอาทิตย์ แสงจากไฟนีออน และสภาพแสงอื่นๆ เมื่อเราถ่ายภาพ ถ้าเจอสภาพแสงแตกต่างกันจะทำให้สีสันของภาพผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง

    ทำไหมเป็นเช่นนั้น ก็ เพราะว่า ระบบกล้องถ่ายภาพหรือมือถือถ่ายภาพไม่สามารถที่จะเลือกสีได้ตรงกับสภาพแสงทุกชนิดได้  เราจึงต้องมี White Balance เพื่อไว้ใช้ในการปรับค่าให้แสงในการถ่ายภาพ 

ออุณภูมิสีแบบต่างๆ
องศาเคลวินแบบต่างๆ

2.อุณหภูมิสีของแสง

ในการถ่ายภาพแต่ละช่วงเวลา จะมีอุณหภูมิสีของแสงที่แตกต่างกัน โดยมีหน่วยเรียกเป็น องศาเคลวิน หรือตัวย่อคือ K โดยอุณหภูมิแสงที่ใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ตอนเที่ยงวันคือราว 5000-6500 K   

 หรือเมื่อเราถ่ายภาพก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้นเราจะเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า อุณหภูมิสีอยู่ราว 7000-10000 องศาเคลวิน เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ก็จะโทนไปทางอุณภูมิที่ต่ำ ออกโทนเป็นสีเหลืองส้ม อุณหภูมิอยู่ประมาณ 3000-1000 องศาเคลวิน

อุณหภูมิสี

ค่าองศาเคลวิน จะเป็นค่ามาตรฐาน เมื่อเราถ่ายภาพในสภาพแสงที่แตกต่างกันอุปกรณ์ที่เราถ่ายภาพ  จึงนำมาเป็นหลักในการเพิ่ม หรือลด สีในภาพ หรือนำมาคำนวณ ทำให้เราได้ภาพสีที่ตรงกับตาที่เรามองเห็นได้นั้นเอง

****หลักง่ายๆคือ เมื่อสีใดมากเราก็ไปลดสีตรงข้าม สีโทนฟ้ามากก็ไปเพิ่มสีส้ม ถ้าสีส้มมากก็ไปเพิ่มสี่ ก็จะผสมกันได้ออกมาเป็นโทนสีขาว อย่างถูกต้อง*****

White balance
White balance แสงสมดุลสีขาว จะมีด้วยกันหลายแบบด้วยกัน

3.ค่ามาตราฐานของ White Balance ต่างๆ

3.1.Auto – กล้องจะปรับค่าWBให้เราแบบอัตโนมัติ เหมาะสำหรับการใช้ในสภาพแสงทั่วๆไปที่ไม่ซับซ้อน

  • กล้องจะแก้สีสันให้เราโดยเลือกค่ามาตราฐานมาจากโรงงานที่ตั้งเอาไว้

3.2.Tungsten – สำหรับหลอกไฟทังสเตน หรือหลอดไฟกลมสีเหลืองที่ใช้ตามบ้านทั่วไป

  • – กล้องจะแก้สีส้มในภาพโดยใส่สีน้ำเงิน สีฟ้าเข้าไป

3.3.Fluorescent  –สำหรับหลอกไฟฟลูออเรสเซนต์หรือหลอนีออน ตามอาคารบ้านเรือนหรือตามสำนักงาน  

  • กล้องจะแก้สีน้ำเงิน สีเขียวในภาพ โดยใส่สีม่วงลงไป

3.4.Daylight –สำหรับแสงอาทิตย์ ในวันที่แดดแรงๆ ท้องฟ้าโปร่ง ไม่มีเมฆและเงาบดบัง

  • แก้สีฟ้าอ่อน ซึ่งจะเป็นสีที่เกิดจากดวงอาทิตย์ในตอนกลางวัน โดยใส่สีส้มเข้าไป

3.5.Flash –สำหรับแสงแฟลซ  แก้สีฟ้าอ่อน คล้ายกับ Daylight

  • โดยใส่สีส้ม สีเหลืองเข้าไป

3.6.Cloudy –สำหรับวันที่มีเมฆมาก  

  • แก้สีฟ้า ที่เกิดจากการมีเมฆ จะมีสีฟ้ามากกว่าปกติ กล้องก็ใส่สีส้มเข้าไป

3.7.Shade –สำหรับถ่ายภาพในที่ร่มหรือใต้ร่มเงา ในบริเวณที่แดดไม่จัดหรือร่มเงาของต้นไม้  

  • แก้สีฟ้า ที่เกิดจากการถ่ายภาพในร่ม ซึ่งอาจจะมีสีฟ้ามากกว่าปกติ กล้องจะใส่สี ส้มเข้าไป

3.8.Custom – เลือกปรับเติมสีของ White Balance เอง

  • ในกรณีที่เราเลือกปรับค่า White Balance แล้วแต่สีก็ยังออกมาไม่ตรง

4. สรุป

WB ก็คือการปรับค่าแสงให้ตรงกับสภาพแสงที่เราถ่ายจริง โดยเราอาจจะอิงกับอุณหภูมิสีเพื่อให้สภาพแสงที่ใกล้เคียงที่สุด แต่บางครั้งเราอาจจะอยากได้สีสันที่แตกต่างกันออกไปเพื่อสื่ออารมณ์ในภาพ เราก็อาจจะเลือก WB ที่ผิดจากธรรมชาติก็ได้     วิธีที่ดีสุดในการเปลี่ยนWBก็คือการถ่ายมาเป็นไฟส์ RAW เพื่อจะมาปรับสีที่หลังได้

บทความโดย : ช้างอิมเมท ธ.ค 63